อินโดนีเซียเล็งเรียกเงิน ราว 35,200 ล้านบาท ชดเชยความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม เหตุแท่นขุดเจาะน้ำมันในเครือปตท.สผ.ของไทย เกิดไฟไหม้และระเบิด นอกชายฝั่งออสเตรเลียปีที่แล้ว จนน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลติมอร์ถึงน่านน้ำอินโดฯ…

       นายเฟรดดี้ นัมเบอรี รมว.คมนาคมของอินโดนีเซีย เผยต่อสำนักข่าวออนไลน์ “ดาวน์ โจนส์ นิวส์ไวร์” ว่า อินโดนีเซียจะเรียกค่าชดใช้ถึง 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( ราว 35,200 ล้านบาท) เป็นค่าชดเชยความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม กรณีที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน “มอนทารา” ของบริษัท “พีทีที ออสเตรเลเซีย” ในเครือบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด มหาชน (ปตท.สผ.) หรือ “พีทีทีอีพี” ของไทย เกิดไฟไหม้ และระเบิดท่ีนอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือออสเตรเลียปีที่แล้ว ทำให้น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลติมอร์ถึงน่านน้ำอินโดฯ

อินโดฯรีดปตท.สผ. 3.5หมื่นล้าน ชดใช้น้ำมั่นรั่ว

       นายนัมเบอรี นำคณะผู้แทนรัฐบาลอินโดฯ ไปเจรจากับพีทีที ออสเตรเลเซีย เมืองเพิร์ธใน 26 ส.ค. โดยเผยว่าจะยื่นขอค่าชดใช้ขณะเจรจา ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอ ข้อเรียกร้องมีข้อมูลอย่างละเอียดสนับสนุน แม้มีข้อสงสัยว่าความเสียหายด้านระบบนิเวศน์วิทยาทางทะเล และการประมงท่ีอินโดฯ กล่าวอ้างนั้นสามารถพิสูจน์ความจริงได้หรือไม่

       ขณะท่ีนายอานนท์ ศิริแสงทักษิณ ประธานบริหารปตท.สผ. เผยว่ายังไม่ได้รับข้อเรียกร้องขอค่าเสียหายจากอินโดฯ ตอนนี้จำนวนเงินไม่ใช่ประเด็น แต่เราต้องตั้งองค์กรร่วมเพื่อพิสูจน์ความจริงของหลักฐานว่า มีผลกระทบจากน้ำมันรั่วจริงหรือไม่ และพร้อมสนับสนุนรัฐบาลอินโดฯ

       การรั่วไหลของน้ำมันจากแท่นขุดเจาะมอนทาราในช่วง 21ส.ค.-3ก.ย. 2552 นับเป็นการรั่วไหลของน้ำมันดิบนอกชายฝั่ง ครั้งเลวร้ายท่ีสุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย แม้จะน้อยกว่าเหตุน้ำมันรั่วจากแท่นขุดเจาะของบริษัท “บีพี” ของอังกฤษนอกชายฝั่งเม็กซิโกในปีนี้ แต่กินเวลานานหลายเดือน ขณะท่ีทางบริษัทพยายามอุดรูน้ำมันรั่ว โดยใช้วิธีขุดบ่อควบคุมความดันจนสำเร็จในท่ีสุดเช่นเดียวกัน

       องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล” (WWF) เผยว่า จากหลักฐานท่ีถูกนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสวนชุดหนึ่งระบุว่า น้ำมันดิบที่รั่วจากแท่นมอนทาราขยายวงกว้างเกือบ 90,000 ตร.กม. และลามเข้าสู่น่านน้ำอินโดฯด้วย ส่วนมูลนิธิรักษ์ติมอร์ตะวันตก ซึ่งคอยสนับสนุนชาวประมงท่ียากจนทางภาคตะวันออกอินโดฯ ประเมินว่าน้ำมันท่ีรั่วไหลส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมงราว 18,000 คน ขณะท่ีธุรกิจต่างๆ อาทิ ฟาร์มสาหร่ายทะเลและหอยมุกก็ได้รับผลกระทบด้วย

       อนึ่ง หลังเหตุน้ำมันรั่วท่ีอ่าวเม็กซิโก ซึ่งเป็นครั้งร้ายแรงท่ีสุดในประวัติศาสตร์ มีน้ำมันรั่วลงทะเลราว 4.9 ล้านบาร์เรล บริษัทบีพีได้ตั้งกองทุนชดใช้ความเสียหายแล้วถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 640,000 ล้านบาท)

อ้างอิง : ไทยรัฐออนไลน์